5 เรื่องเบื้องต้นและข้อควรระวังก่อนนำเข้า-ส่งออกที่จำเป็นต้องรู้!!

Share on:

ข้อควรระวังก่อนนำเข้า-ส่งออก

การนำเข้า-ส่งออก สินค้าระหว่างประเทศถือเป็นกลยุทธที่ช่วยขับเคลื่อนให้ธุรกิจนั้นมีการเติบโตมากขึ้น ทำให้ผู้นำเข้าสามารถหาสินค้าที่มีรูปแบบใหม่ คุณภาพดี หรือราคาถูกกว่าในประเทศของตน และผู้ส่งออกสามารถขายสินค้าที่ตนเองผลิต ไปยังประเทศต่างๆ ได้ นอกจากนี้การนำเข้าและการส่งออกสินค้ายังเป็นตัวชี้วัดรายได้ของประเทศอีกด้วย ซึ่งผู้ประกอบการใหม่ที่ต้องการทำสนใจการทำธุรกิจระหว่างประเทศจำเป้นต้องรู้จักข้อควรระวังก่อนนำเข้า-ส่งออก เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิผล

1) การส่งออก (Export)

ข้อควรระวังก่อนนำเข้า-ส่งออก

การส่งออก (Export) คือการจัดส่งสินค้าหรือการขายสินค้าและบริการในประเทศไปสู่ตลาดอื่น จากต้นทางสู่ปลายทางในทางบก ทางน้ำหรือทางอากาศ ในการส่งออกสินค้าจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ กรมศุลกากร ซึ่งในการส่งออกสินค้าการผ่านพิธีการศุลกากรสามารถทำได้โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยการส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานที่ศุลกากรกำหนดไว้ และกรมศุลกากรจะทำการดำเนินงานต่อเพื่อให้สินค้าสามารถส่งออกได้ 

2) เอกสารสำหรับการส่งออกสินค้า

ข้อควรระวังก่อนนำเข้า-ส่งออก
  1. ใบขนสินค้าขาออก (Export Declaration)
  2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
  3. ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการส่งออก (ถ้ามี) (Export License)
  4. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (ถ้ามี) (Certificates of Origin)
  5. เอกสารอื่น ๆ เช่น แคตตาล็อก เอกสารแสดงส่วนผสม ฯลฯ

3) ภาษีศุลกากร (Customs Duty)

ข้อควรระวังก่อนนำเข้า-ส่งออก

การนำเข้าและส่งออกสินค้าจะมีการเก็บภาษีศุลกากร หรือ Customs Duty ที่เรียกว่า อากร หมายถึง เงินรายได้ของประเทศที่กฎหมายกำหนดให้กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานจัดเก็บจากการนำของเข้ามาหรือส่งของออกไปต่างประเทศ ตามที่บัญญัติในกฎหมายศุลกากรและกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ตลอดจนกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอากรศุลกากร

4) ข้อควรระวัง สำหรับมือใหม่

ข้อควรระวังก่อนนำเข้า-ส่งออก
  • ใบขนสินค้าปลอม ต้องศึกษาอย่างละเอียดว่า ‘ใบขน’ มีวิธีการอ่านอย่างไร
  • หลอกให้ส่งออก ส่วนใหญ่มักเกิดกับประเทศที่ไม่ค่อยเจริญ ทางนั้นจะบอกว่า มีเงินพร้อมโอนแน่นอน ให้เราส่ง BL ไปให้เขา เพราะฉะนั้นควรให้เขาโอนเงินมาก่อน ในกรณีเราเป็นผู้ส่งออก
  • ราคาถูกผิดปกติ

5) ขั้นตอนและข้อควรระวังก่อนนำเข้า-ส่งออกที่ควรรู้

ข้อควรระวังก่อนนำเข้า-ส่งออก

ขั้นตอนนำเข้าส่งออก เมื่อเริ่มต้นซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศไม่ว่าคุณจะนำเข้าหรือส่งออกอะไรผ่านเส้นทางไหนก็จะต้องผ่านทั้ง 8 ขั้นตอนเหล่านี้

1. เริ่มนำเข้าส่งออกที่โรงงานผู้ขาย

จุดแรกของการนำเข้าส่งออกการขนส่งย่อมไม่พ้นผู้ขายหรือผู้ผลิตไปได้ ซึ่งในจุดนี้ส่วนใหญ่เรามักจะเรียกว่า  “Shipper”  แปลตรงตัวว่าผู้ส่งออกหรือผู้ขาย ก็อนุมานกันได้เลยว่าสถานที่ที่จะไปรับสินค้า  หรือจะใช้คำตรงตัวอย่าง โรงงาน Factory, โกดัง Warehouse ได้ตามสะดวก

2. การขนส่งในประเทศต้นทาง

เมื่อตกลงซื้อขายกันเสร็จสิ้นแล้วสินค้าจะถูกบรรจุและแพ็คกิ้งขึ้นรถบรรทุกเพื่อขนส่งไปยังท่าเรือ/ท่าอากาศยานต่างๆ แล้วจึงถ่ายโอนสินค้าต่อไปยังทางเรือหรือทางเครื่องบินเพื่อจัดส่งออกไปยังประเทศปลายทาง 

3. การทำพิธีการศุลกากรขาออก

ในขั้นตอนนี้ผู้ขาย(Shipper) หรือตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ(Freight Forwarder) ที่ได้จัดซื้อจัดจ้างไว้จะมีหน้าที่ในการสำแดงสินค้าต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร(Customs House) ว่าสินค้าอะไรจะออกจากประเทศนั้นนั่นเองครับ จุดนี้ภาษาเฟรทเรียกว่า Outbound Customs Clearance และปกติแล้วขั้นตอนนี้จะกินเวลาไม่นาน หากไม่เจอปัญหาอะไร

4. ท่าเรือ/ท่าอากาศยานต้นทาง

เมื่อศุลกากรได้ตรวจปล่อยสินค้าแล้ว สินค้าก็จะได้รับอนุญาตให้เอาขึ้นเรือหรือเครื่องบินที่จัดเตรียมไว้เพื่อขนส่งออกจากประเทศผู้ขาย ในจุดนี้ภาษาเฟรทจะเรียกว่า Port of Loading(POL) แต่ไม่ใช่ว่าทำพิธีการเสร็จแล้วเรือหรือเครื่องบินจะออกทันที ยังต้องมีการผ่านกระบวนการในท่าฯ อีกพอสมควร

5. ท่าเรือ/ท่าอากาศยานปลายทาง

ตอนนี้สินค้าก็ได้เดินทางมาถึงยังประเทศของผู้ซื้อ จุดนี้เมื่อเรือหรือเครื่องบินจอดเทียบท่าแล้ว สินค้าจะถูกลำเลียงเข้าโกดังไว้ รอให้ผู้ซื้อหรือตัวแทนออกของและศุลกากรมาตรวจปล่อยสินค้าต่อไป ในจุดนี้ภาษาเฟรทเราจะเรียกว่า Port of Discharge(POD) 

6. พิธีการศุลกากรสินค้าขาเข้า

เจ้าพนักงานศุลกากรจะมาตรวจสินค้าที่ผู้ซื้อนำเข้ามาว่าสินค้าที่คุณนำเข้ามาตรงกับที่ได้แจ้งกับกรมศุลกากรไว้หรือไม่ เสียภาษีตรงกับฐานภาษีที่กรมศุลกากรกำหนดหรือไม่ เป็นสินค้าควบคุมหรือไม่ ถ้าไม่มีปัญหาอะไรเมื่อเรียบร้อยแล้ว ก็ขนออกจากท่าเรือ/ท่าอากาศยานได้เลย จุดนี้คือ Inbound Customs Clearance 

7. ขนส่งจากท่าเรือ

สินค้าที่ตรวจปล่อยแล้วก็ขนไปยังผู้รับครับ การขนส่งทางรถในประเทศไทยนั้นมีข้อกำหนดสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่กว่ากระบะด้วย จำง่าย ๆ ว่าในช่วงจราจรคับคั่งตอนพนักงานเข้างานและเลิกงานคือช่วงที่รถใหญ่ห้ามวิ่งในเขตเมือง

8. ผู้ซื้อ

ตอนนี้ขั้นตอนสุดท้ายคือ ผู้ซื้อ(Consignee) ทำการรับสินค้า ถือเป็นอันเสร็จสิ้นภาระกิจขนส่งสินค้าในขั้นตอนนี้ก่อนที่จะรับมอบสินค้า ผู้ซื้อที่ดีควรจะตรวจดูความเรียบร้อยของสินค้าก่อนทำการรับมอบทุกครั้ง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: https://blog.giztix.com  , convergent-interfreight.com

ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง เพื่อขอรับรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 02-026-3165 หรือ > เปรียบเทียบราคาขนส่ง < กดที่นี่

Don't forget to share this post!

Share on:

Facebook
LinkedIn
Twitter
Telegram

Share on:

Expand your Business to Southeast Asia​