ไม่อ่านก็พลาดแล้ว! Red Ocean VS Blue Ocean แต่ละตลาดต่างกันอย่างไร

Share on:

ไม่อ่านก็พลาดแล้ว! Red Ocean VS Blue Ocean แต่ละตลาดต่างกันอย่างไร

       ปัจจุบันการทำธุรกิจอะไรสักอย่างจำเป็นต้องศึกษาตลาดให้ดี เพราะไม่ว่าจะเป็นธุรกิจไหนๆ ก็ต่างมีตลาดของตัวเองกันทั้งนั้น ซึ่งวันนี้ Boxme จะมาแนะนำให้รู้ว่า Red Ocean VS Blue Ocean แตกต่างกันอย่างไร ตลาดไหนควรทำธุรกิจอะไรบ้าง และแต่ละตลาดมีจุดแข็งของตัวเองอะไรบ้าง (อ่านเพิ่มเติม > เปิดตลาด Social Media ที่ไหนดี? กับยุคที่เต็มไปด้วยการแข่งขันในปี 2023)

ตลาด Red Ocean

ไม่อ่านก็พลาดแล้ว! Red Ocean VS Blue Ocean แต่ละตลาดต่างกันอย่างไร

ขอขอบคุณภาพจาก babylonbee

       เป็นพื้นที่ทางธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงที่สุด อุตสาหกรรมตลาดที่มีการแข่งขันสูงมาก ทั้งเรื่องราคา เนื่องจากสินค้าที่อยู่ประเภทเดียวกัน มีลักษณะใกล้เคียงกันมาก โดยการแข่งก็อาจลดราคาต่ำที่สุด ตัดราคากัน ต่อสู้กันแบบเลือดตกยางออก โดยมีการเอาชนะกันด้วยจัดโปรโมชั่นที่ลดราคา เปรียบดั่งสีเลือดในน้ำทะเลที่เกิดจากการต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงพื้นที่ มีโอกาสในการเติบโตช้า และได้กำไรน้อยกว่าที่คาดหวัง เพราะเป็นสินค้าที่มีทั่วไปในตลาด และต้องแข่งขันกับสินค้าที่คล้ายคลึงกันอยู่ตลอด แต่ข้อเสียคือ ลูกค้าจะเลือกซื้อแบรนด์ที่ถูกกว่าและไม่ค่อยจงรักภักดีต่อแบรนด์

ธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์ Red Ocean มีอะไรบ้าง

  • ธุรกิจเกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค อย่างเช่น น้ำดื่ม น้ำผลไม้ น้ำอัดลม สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น 
  • ธุรกิจสายการบิน อย่างเช่น Thai Smile, Air Asia
  • ธุรกิจเครื่องสำอางและสกินแคร์

ตลาด Blue Ocean

ไม่อ่านก็พลาดแล้ว! Red Ocean VS Blue Ocean แต่ละตลาดต่างกันอย่างไร

       เป็นตลาดตรงกันข้ามกับ Red Ocean แบบคนละขั้วเลยก็ว่าได้ เพราะ Blue Ocean เป็นตลาดที่เน้นการแข่งขันในการสร้างดีมานด์ใหม่ๆ ขึ้นมา ซึ่งจะเป็นเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเดิมมากยิ่งขึ้น ผ่านนวัตกรรมของสินค้าใหม่ๆ ที่อาจจะไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในตลาด อีกทั้งเป็นตลาดที่มีคู่แข่งน้อย เนื่องจากมีการแข่งขันที่ไม่สูงมาก 

       ถ้าเปรียบเทียบกับ Red Ocean ซึ่งการพัฒนาทำธุรกิจอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด รวมทั้งสามารถสร้างความต้องการใหม่ขึ้นมาอย่างมีคุณค่ามากกว่าที่จะไปแข่งขันเรื่องราคากับธุรกิจเจ้าอื่น เปรียบเสมือนท้องทะเลสีครามน้ำเงินที่เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ และยังไม่มีใครเข้ามาหาปลาในน่านน้ำแห่งนี้ 

       หัวใจสำคัญของกลยุทธ์นี้คือการสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ยังไม่เคยมีใครเข้าถึงมาก่อน ซึ่งสามารถค้นหาได้จากการตั้งคำถามและสังเกตปัญหารอบตัว จนสามารถเข้าถึงความต้องการที่ซ่อนอยู่ได้

       โดยที่แบรนด์ไม่ต้องแข่งกันตัดราคากัน แต่จะเน้นการแข่งขันไปในรูปแบบเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้าหรือบริการ ผ่านการสร้างสินค้าใหม่ หรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าที่มีอยู่แล้ว  บางแบรนด์อาจสร้างฐานลูกค้าด้วยการเปลี่ยนความต้องการที่มีอยู่เดิมของสินค้า ในตลาด Red Ocean ให้เป็นความต้องการใหม่ๆ บนสินค้าและกลยุทธ์การเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและแบรนด์ เช่น อาจเป็นไอเดียใหม่ๆ ที่พึ่งคิดได้ หรือ ไอเดียที่แปลก แหวกแนวไปเลย แต่การใช้กลยุทธ์นี้จะต้องอาศัยความรอบคอบในการสำรวจตลาด และเรียนรู้พฤติกรรมของลูกค้า เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงกลุ่มด้วยเช่นกัน

ธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์ Blue Ocean มีอะไรบ้าง

  • บริษัท Apple ที่มีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มาทำให้เกิดความรู้สึกแตกต่าง น่าค้นหา และน่าลองใช้ เป็นสิ่งที่เข้ามาปรับเปลี่ยนความรู้สึกของผู้ใช้สมาร์ทโฟนไปอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็น iPhone, iPad, Macbook เป็นต้น
  • บริษัท Netflix ที่เปลี่ยนจากการให้คนไปเช่าหนังไปดูแล้วต้องนำกลับมาคืน ให้สามารถดูหนังผ่าน Netflix ได้ที่บ้านได้ โดยไม่ต้องออกไปหาเช่าหนังจากข้างนอกเหมือนสมัยก่อน

ความแตกต่างระหว่าง Red Ocean vs Blue Ocean

ตลาดที่มีอยู่ VS สร้างความต้องการในตลาดใหม่

       โดยกลยุทธ์ของตลาด Red Ocean จะไม่พยายามผลักดันให้เกินขอบเขตของตลาดเดิม ส่วนกลยุทธ์ Blue Ocean นั้น จะค้นหาโอกาสใหม่ๆ ในการสร้างตลาดที่ยังไม่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น Apple ได้สร้างตลาดใหม่สำหรับโทรศัพท์มือถือรุ่นที่ไม่มีปุ่มกดขึ้นมา หรือที่ปัจจุบันเราเรียกกันว่า smartphone ได้สำเร็จ โดยทำการเปลี่ยนลูกค้าเป้าหมายจากผู้ที่เคยใช้โทรศัพท์แบบปุ่มกดอยู่แล้ว ให้มาใช้แบบที่ Apple ได้ทำขึ้นมา ซึ่งเป็นรุ่นสัมผัส เป็นต้น

เอาชนะการแข่งขัน VS ทำให้การแข่งขันไม่ใช่เรื่องจำเป็น

       จุดเน้นของกลยุทธ์น่านน้ำสีแดงคือการเอาชนะการแข่งขันด้วยการตลาดเชิงรุก การกำหนดราคาที่ดีขึ้นโดยอาจกดราคาเพื่อสู้กับคู่แข่งเล็กน้อย และประสบการณ์ผู้ใช้ที่โดดเด่น ดังที่เห็นได้ชัดจากความสำเร็จที่น่าทึ่งของ Amazon ที่เปรียบเสมือนฉลามในโลกของอีคอมเมิร์ซ

       กลยุทธ์ Blue Ocean มุ่งเน้นไปที่การสร้างทางเลือก ตัวอย่างเช่น Grab ไม่ได้สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่ได้เปลี่ยนวิธีการทำงานของอุตสาหกรรมรถแท็กซี่ โดยมองหาปัญหาแบบเดิมๆ ของการใช้แท็กซี่แบบเดิมๆ เพื่อเปลี่ยนผู้ใช้ที่ก่อนหน้านี้ไม่ชอบขึ้นแท็กซี่และเจอปัญหาต่างๆ กับการเรียกรถแท็กซี่ให้เป็นลูกค้าโดยทำให้การเรียกใช้บริการแท็กซี่เป็นเรื่องง่าย และในปัจจุบันก็ยังเพิ่มฟังชั่นอีกมากมายทั้งบริการเรียกรถแบบอื่นๆ การสั่งอาหาร ก็สามารถทำผ่าน Grab ได้เลย (อ่านเพิ่มเติม > User Generated Content (UGC) คืออะไร ทำไมจึงช่วยแบรนด์ทำการตลาดได้แบบสุดปัง?)

       หวังว่าทุกท่านจะได้รับประโยชน์จากการบทความนี้ในการดำเนินธุรกิจไม่มากก็น้อย นอกจากความรู้เรื่อง Red Ocean vs Blue Ocean นี้แล้วก็ยังมีเทคนิคอีกมากมายที่น่าทำในยุคปัจจุบันซึ่งทาง Boxme ก็ยังมีเทคนิคและวิธีการดีๆ อีกมากมายที่ช่วยให้ผู้อ่านสามารถขายของออนไลน์ได้ดี โดยสามารถติดตามได้ที่บทความต่อไปของ Boxme ได้เลย

       สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านไหนที่กำลังมองหาตัวช่วยจัดการ ธุรกิจ E-commerce หรือร้านค้าออนไลน์ของท่าน คลังสินค้า Boxme Thailand ให้บริการทั้งการจัดเก็บสินค้า พร้อมแพ็คและจัดส่ง ให้ธุรกิจออนไลน์ของคุณง่ายในการจัดการมากขึ้น และกรณีที่ท่านจัดการเองไม่ไหว ไม่มีเวลามากพอในการทำ และต้องการระบบในการช่วยจัดการปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งทางเรามีระบบที่ช่วยบริหารร้านค้าออนไลน์ รวมทั้งระบบจัดการช่องทางการขายช่วยซัพพอร์ต สามารถปรึกษาทางเราได้จากช่องทางการติดต่อข้างล่างได้เลยครับ 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก > Thumbsup

สนใจระบบเชื่อมต่อคำสั่งซื้อจากทุกช่องทางในหน้าเดียว

ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง เพื่อขอรับรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 02-026-3165 หรือ > ขอรับใบเสนอราคา < กดที่นี่

Don't forget to share this post!

Share on:

Facebook
LinkedIn
Twitter
Telegram

Share on:

Expand your Business to Southeast Asia​