Social Commerce เป็นช่องทางการขายส่วนหนึ่งของ E-commerce ซึ่งเป็นการใช้ Social Media ในการส่งเสริมการซื้อและขายสินค้าหรือบริการออนไลน์ โดยการใช้กลยุทธ์เพื่อนำเสนอเนื้อหาที่แตกต่างกัน เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าของแบรนด์ ตัวอย่างเช่น การทำ storytelling, การจัดโปรโมชั่น, การใช้ Influencer ในการโปรโมทสินค้า, การรีวิวความคิดเห็นจากลูกค้าเก่า ทำให้แบรนด์ได้รับความสนใจและเป็นที่ยอมรับในช่องทาง Social Media ซึ่งนำไปสู่การปิดขายในที่สุด

ความน่าสนใจของตลาด SEA

ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) เป็นตลาดใหม่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และกำลังก้าวเข้าสู่การเป็นผู้นำในการทำ E-commerce โดยการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ ตามรายงานของ Google และ Temasek ปี 2019 เกี่ยวกับเศรษฐกิจอินเทอร์เน็ต ภูมิภาคเอเชียตะวันออเฉียงใต้มีมูลค่ารวมสูงถึง $100 พันล้านในปี 2019 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าถึง $300 พันล้าน ในปี 2568 ในขณะเดียวกัน แพลตฟอร์ม E-commerce ก็มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดในการแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาด เพราะภูมิภาคนี้ถือว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการขยายธุรกิจ E-commerce อย่างมาก

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำ Social Commerce

การเติบโตของเทคโนโลยี

จาก 660 ล้านคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกือบสองในสามเป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ต และจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 416 ล้านคน 375 ล้านคนกำลังใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ในโลกของสมาร์ทโฟนราคาถูก 90% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเหล่านี้ใช้มือถือเป็นอุปกรณ์หลักซึ่งเป็นแนวที่เหมาะสำหรับอีคอมเมิร์ซที่เน้นมือถือ

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตกว่าสองในสามของประชากรทั้งหมด 660 ล้านคนทั่วภูมิภาค และมักเลือกเปิดใช้งานอินเทอร์เน็ตและเข้าถึงการซื้อขาย E-commerce ผ่านอุปกรณ์มือถือมากกว่าอุปกรณ์อื่น ๆ
ร้านค้าที่มีหน้าร้านที่เคยเน้นกลยุทธ์ให้ลูกค้ามีประสบการณ์ผ่านการสัมผัสจริง แต่เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีส่วนในชีวิตประจำวันมากขึ้น ผู้บริโภคมีการเลือกซื้อสินค้าจากในช่องทางออนไลน์ เพราะแม้ว่าจะไม่ได้รับประสบการณ์ในการสัมผัสสินค้าจริง แต่ก็มีความสะดวกสบายมากกว่า จากรายงาน Social Commerce ของ PayPal ระบุว่า 85% ของผู้ซื้อออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ความสำคัญกับ ‘ความง่ายและรวดเร็ว’ ในการซื้อผ่านสื่อโซเชี่ยล

ผู้บริโภคกลุ่มเจนเนอเรชั่น Millennials (อายุประมาณ 23-38 ปี) เป็นพลังหลักของการเปลี่ยนแปลงนี้ เพราะคนกลุ่มนี้มีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีและการใช้งาน Social Media และยังเป็นผู้เริ่มใช้การชำระเงินผ่านช่องทางดิจิตัลอีกด้วย

จากสถิติการใช้งานสมาร์ทโฟน, Social Media และการชำระเงินแบบดิจิตัลในปัจจุบัน ยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดน้อยลงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจาก Social Commercce สามารถเข้าถึงและสร้างความสัมพันธ์กับผู้บริโภคได้โดยตรง จึงพร้อมที่จะรับการเติบโตในปีต่อ ๆ ไป

Social features 

รายงาน Econsultancy เปิดเผยว่าสื่อโซเชียลมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจซื้อของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่าผู้ซื้อจะลังเลที่จะซื้อผ่านโซเชียลมีเดีย แต่ก็เป็นแหล่งข้อมูลที่ยอดเยี่ยม ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบทั้งหมด (96%) กล่าวว่าพวกเขาเข้าชมเว็บไซต์โซเชียลมีเดียอย่างจงใจก่อนที่จะซื้อสินค้าออนไลน์ 6 ใน 10 คนระบุว่าการซื้อออนไลน์ของพวกเขาได้รับอิทธิพลจากสิ่งที่พวกเขาเห็นบนโซเชียลมีเดีย

จากรายงานของ Econsultancy เปิดเผยว่าสื่อโซเชี่ยลมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีการเข้าชมเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์ม Social Media ก่อนการสั่งซื้อ โดยได้รับอิทธิพลจากสิ่งที่พวกเขาเห็นบน Social Media และเกือบครึ่งหนึ่งมีการสั่งซื้อออนไลน์มากกว่า 3 ครั้งในช่วง 3 เดือน และมักจะมีการบอกต่อเกี่ยวกับสินค้ากับเพื่อนหรือคนรู้จักบนช่องทาง Social Media ด้วย

แม้ว่าจะมีช่องทาง E-market ให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อของได้โดยเฉพาะ เช่น Shopee และ Lazada แต่ก็ยังมีผู้บริโภคบางส่วนที่เลือกซื้อของผ่านทาง Social Media อย่าง Facebook, WhatsApp และ Instagram ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น? คำตอบคือ เพราะการซื้อผ่านช่องทาง Social Media มีความสะดวกสบายมากกว่า อย่างเช่นตอนที่สามารถเลือกซื้อสินค้าได้โดยตรงในขณะเลื่อนดูฟีด รวมทั้งสามารถแชทกับผู้ขายได้โดยตรง และยังไม่รู้สึกว่ามีปัญหาแม้ว่าต้องให้ข้อมูลซ้ำ ๆ กับผู้ขายที่แตกต่างกัน

Celebrities and influencer

ในอดีตมีการใช้ Influencer เพื่อร่วมมือกับแบรนด์ในการโปรโมทสินค้า แต่เมื่อกลุ่มลูกค้ามีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ทำให้มีการเริ่มใช้ Influencer ที่แตกต่างกันออกไปแม้ว่าจะไม่ได้มีชื่อเสียงในวงกว้าง แต่เป็นที่รู้จักและสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของสินค้าแต่ละประเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์ม E-marketplace ใหญ่ ๆ อย่าง Shopee หรือ Lazada หรือช่องทางเล็กอื่น ๆ ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะสามารถดึงดูดความสนใจจากกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกันได้อย่างไร การทำ Influencer Marketing เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถทำให้กลุ่มเป้าหมายมีความสนใจที่จะซื้อสินค้าหรือบริการที่นำเสนอได้มากกว่า เนื่องจากความรู้ ความมีอิทธิพล และการมีสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวมากกว่ากับแบรนด์โดยตรง และช่องทางส่วนใหญ่ที่ผู้ซื้อจะเข้าถึง Influencer เหล่านี้ได้ ก็คือช่องทาง Social Media นั่นเอง

ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง เพื่อขอรับรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 02-026-3165 หรือ > ขอรับใบเสนอราคา < กดที่นี่

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *