พลิกกลยุทธ์สำคัญ เมื่อร้านหนังสือปรับตัวมาขายแบบ Omni-Channel

Share on:

พลิกกลยุทธ์สำคัญ เมื่อร้านหนังสือปรับตัวมาขายแบบ Omni-Channel

ในยุคที่โลกดิจิตัล  Disturb ไปทุกกิจการ รวมถึงร้านหนังสือที่ได้รับผลกระทบโดยตรงเนื่องจากเป็นธุรกิจที่เปิดหน้าร้านเป็นหลัก การขายหนังสือจึงเริ่มปรับตัวขึ้นมาขายบนออนไลน์กันมากขึ้น เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าได้ โดยไม่ต้องเข้ามาที่แผงหนังสือหน้าร้าน

ล็อกดาวน์ ทำพิษธุรกิจหนังสือ

ธุรกิจร้านหนังสือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ต้องปรับตัวอย่างหนักไม่แพ้ SME รายอื่นในประเทศ หลังจากต้องทยอยปิดลงเนื่องจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ส่งผลให้ยอดขายของร้านหนังสือลดลงตามไปด้วย ถึงอย่างไรก็ยังคงมี Demand จากผู้อ่านที่ชื่นชอบการอ่านหนังสือแบบเล่ม ได้สัมผัสกับเนื้อกระดาษ ได้เดินเข้ามาในร้าน เลือกเล่มที่ชอบ สิ่งเหล่านี้เป็นเสน่ห์ที่หาไม่ได้จากออนไลน์ เพียงแต่ร้านที่จะอยู่รอดได้ในยุคดิจิทัล คือ ร้านที่ปรับตัวได้ทัน เข้าใจตลาด และความต้องการของลูกค้าของตน

หน้าร้านปิด งานหนังสืองด ไร้ยอดขาย

งานมหกรรมหนังสือแห่งชาติที่เคยทำรายได้ก้อนโต แต่เมื่อไม่สามารถจัดงานได้จึงทำให้ขาดรายได้ในส่วนนี้ไป เล่มหนังสือที่ผลิตออกมาแล้ว เป็นต้นทุนเดิมยังไม่ได้ขายส่งต่อถึงผู้บริโภค จึงกลายเป็นแบกภาระก้อนใหญ่ ทางฝั่งนักอ่านเองก็มีความระมัดระวังเรื่องการใช้จ่ายมากขึ้น เลือกจับจ่ายเฉพาะกับสินค้าจำเป็น จะซื้อหนังสือต้องรอให้มีโปรโมชั่น หรือ ลดราคาจึงจะจูงใจให้ควักเงินซื้อได้ (อ่านเพิ่มเติม > เปิด 5 ข้อดีของการขายออนไลน์แบบ Social Commerce)

“ร้านหนังสือ” อยู่รอดได้ด้วย “Omni-channel”

หนทางรอดของธุรกิจร้านหนังสือ คือ การปรับโมเดลธุรกิจเป็น “Omni-channel” ที่เชื่อมต่อระหว่างช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งเป็นช่องทางหน้าร้านเข้าด้วยกัน โดยการขายแบบ Omni-Channel นี้จะช่วยดึงดูดผู้บริโภคให้เข้าถึงสินค้าได้อย่างสะดวกมากขึ้น ทำให้เพิ่มยอดขายได้จากทุกช่องทาง และร้านค้ายังสามารถรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าเพื่อนำมาวิเคราะห์และสร้างความเข้าใจความต้องการของลูกค้า และเป็นการเพิ่มจำนวนลูกค้าที่จะย้อนกลับมาซื้อของกับแบรนด์อีกครั้ง ประสบการณ์ที่ดีจะส่งผลให้เกิดการแนะนำและบอกต่อเป็นการเพิ่มกลุ่มลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ Omni-Chanel จึงเป็นโอกาสที่ร้านค้าจะได้เจอลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ ที่ไม่สามารถซื้อหนังสือหน้าร้านได้ และยังขยายฐานลูกค้าจากที่อยู่ในละแวกพื้นที่แถวนั้นสู่ลูกค้าทั่วประเทศได้ด้วย (อ่านเพิ่มเติม > 5 เหตุผลที่ธุรกิจ E-Commerce อยู่รอดด้วย Omni Channel Marketing)

ขอบคุณรูปภาพจาก: SE-ED Website

Omni Channel ทางออกสำหรับผู้ประกอบการ

ระบบจัดการออเดอร์

การขายแบบ Omni Channel ถือเป็นการยกระดับธุรกิจขึ้นอีกขั้น ที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้นด้วยการขยายร้านไปขายยังช่องทางขายหรือแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ เพราะผู้บริโภคแต่ละกลุ่มจะมีความคุ้นเคย และชื่นชอบการซื้อสินค้าในแพลตฟอร์มที่แตกต่างกัน การเปิดขายในหลายหลายช่องทาง จึงเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงผู้ซื้อจำนวนมาก

ระบบ Omni Channel จาก Boxme Thailand เป็นระบบจัดการหลังบ้านที่เหมาะสำหรับร้านค้าที่มีช่องทางการขายผ่านหลายแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น Shopee, Lazada, Shopify หรือเว็บไซต์ส่วนตัว โดยระบบ Omisell สามารถจัดการออเดอร์จากทุกช่องทางขายและสต๊อกทั้งหมดได้ในหน้าเดียว  ด้วยการเชื่อมต่อแพลตฟอร์มการขายกับ ระบบคลังสินค้าของ Boxme ให้สามารถซิงค์ถึงกันได้ เมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามาจากแพลตฟอร์มที่มีการขาย คำสั่งซื้อนั้นจะถูกส่งเข้ามารวมในหน้าจัดการของ Omisell เพื่อให้ผู้ขายสามารถมองเห็นและจัดการคำสั่งซื้อจากช่องทางต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย เป็นระบบระเบียบ และแม่นยำ ลดเวลาการดูแลออเดอร์จำนวนมากที่วุ่นวาย สามารถดึงข้อมูลจากแพลตฟอร์มได้อย่างถูกต้อง 100%  (อ่านเพิ่มเติม > เคล็ดลับขายของออนไลน์ให้สุดปัง! ทั้ง 6 แพลตฟอร์ม Social Media)

Omni Channel กับผู้บริโภค

Omni Channel

ทางด้านผู้บริโภคเองก็ได้รับประโยชน์จากการขายแบบ Omni-Channel เช่นกัน โดยผู้บริโภคสามารถเลือกช่องทางการซื้อที่สะดวกต่อตนเองได้ เช่น สามารถ เลือกซื้อสินค้าได้ทาง Facebook, Shopee, Lazada หรือในเว็บไซต์ และเลือกช่องทางการชำระเงินตามความต้องการ รวมถึงขนส่งที่ต้องการได้อีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: www.brandbuffet.in.th

ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง เพื่อขอรับรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 02-026-3165 หรือ > ขอรับใบเสนอราคา < กดที่นี่

Don't forget to share this post!

Share on:

Facebook
LinkedIn
Twitter
Telegram

Share on:

Expand your Business to Southeast Asia​