เข้าใจธุรกิจโรงงาน OEM & ODM แตกต่างกันอย่างไร?

Share on:

โรงงาน OEM

ในยุคนี้ที่การสร้างแบรนด์สินค้าประเภท Health Care ได้รับความนิยม เพราะเป็นสินค้าที่ผลิตได้ง่ายและสามารถผลิตได้อย่างรวดเร็วกว่าแต่ก่อน เนื่องจากปัจจุบันมีโรงงานรับผลิตครบวงจรพร้อมรองรับผู้ประกอบการใหม่ ๆ เพียงมีทุน มีไอเดีย ก็สามารถเป็นเจ้าของแบรนด์ได้ไม่ยาก ในส่วนของโรงงานรับผลิตเองก็ต้องมีการปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของโรงงานที่รับผลิตอาหารเสริม ผลิตครีมบำรุงผิวพรรณ จะมีคำที่ได้ยินอยู่บ่อย ๆ นั่นคือ OEM ODM เป็นศัพท์ที่ผู้ประกอบการที่กำลังมองหาโรงงานที่สามารถผลิตสินค้าแบรนด์ของท่านได้อย่างปลอดภัย ต้องทราบก่อนที่จะตัดสินใจผลิตสินค้านั่นเอง…

OEM คืออะไร

OEM คือ ผู้รับจ้างผลิตสินค้าให้กับบริษัท ที่จะไปขายในแบรนด์ของตัวเอง โดย OEM ย่อมาจากคำว่า Original Equipment Manufacturer ซึ่งลักษณะของ OEM นั้นจะตอบสนองลูกค้าที่มีแบรนด์เป็นของตนเองแล้ว แต่ไม่มีเครื่องจักรหรือโรงงานเป็นของตัวเอง ฉะนั้น OEM จึงมีบทบาทเป็นผู้ผลิตสินค้า โดยเริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการผลิตจนกระทั่งได้สินค้าออกมาพร้อมใช้งาน ขาดเพียงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ โลโก้ที่ลูกค้าต้องจัดหามาเองทางโรงงานจะมีบริการจดแจ้งทะเบียน อย. ให้อีกด้วย

ODM คืออะไร

โรงงาน OEM

ODM คือ ผู้รับจ้างที่ออกแบบและผลิตสินค้าให้กับบริษัทที่จะไปขายในแบรนด์ของตัวเอง โดย ODM ย่อมาจากคำว่า Original Design Manufacturer ซึ่งลักษณะของ ODM นั้นจะตอบสนองลูกค้าคล้ายกับ OEM นั่นก็คือรับผลิตสินค้า แต่ก็มีความต่างที่นอกจากรับผลิตแล้วยังรับออกแบบสินค้าด้วย ไม่ว่าจะเป็นโลโก้สินค้า ฉลาก บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ โดยลูกค้ามีหน้าที่เพียงศึกษาการตลาดและดำเนินการขายด้วยตนเองเท่านั้น

ความแตกต่างของ OEM และ ODM

โรงงาน OEM

OEM เป็นการทำงานผลิตของโรงงานที่รับจ้างผลิตสินค้าตามสูตรการผลิตของลูกค้าเพื่อให้ลูกค้านำไปทำแบรนด์ที่ติดตลาดอยู่แล้วของตัวเอง ส่วน ODM เป็นโรงงานที่มีรูปแบบการผลิตที่มีการพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์เพื่อนำเสนอแก่ลูกค้า

OEM เป็นการทำงานผลิตแบบรับจ้าง ไม่ต้องมีความเสี่ยง เพราะเป็นการรับจ้างผลิต ส่วน ODM แม้จะต้องรับความเสี่ยงและลงทุนเพิ่มขึ้นอยู่บ้าง เพราะต้องทดลองและทดสอบผลิตภัณฑ์ แต่ก็นับเป็นความก้าวหน้าของธุรกิจ

ข้อดีของโรงงาน OEM

โรงงาน OEM
  • ช่วยลดต้นทุนการผลิต
  • เจ้าของแบรนด์ไม่จำเป็นต้องมีโรงงานผลิตเอง
  • มีผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางการผลิตคอยดูแล
  • พัฒนาสูตรได้ตามความต้องการ
  • ใช้ระยะเวลา 15-30 วัน

ข้อดีของโรงงาน ODM

โรงงาน OEM
  • มีผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางการผลิตคอยดูแล
  • ใช้ระยะเวลาเพียง 7-14 วัน
  • เหมาะกับผู้เริ่มต้นทำแบรนด์
  • ไม่ต้องออกแบบเอง สามารถขายได้เลย
  • ต้นทุนการผลิตต่ำ
  • เจ้าของแบรนด์ไม่จำเป็นต้องมีโรงงานผลิตเอง
  • แต่ไม่สามารถพัฒนาสูตรได้ตามความต้องการ
 
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:  oem.thaimedicos.com , www.cometsintertrade.com

หากท่านเป็นผู้ประกอบการหรือเจ้าของแบรนด์ที่มีการสั่งผลิตสินค้าจากโรงงานที่กล่าวไปข้างต้นจำนวนมากหลายหมื่นชิ้น แต่พบเจอปัญหาไม่มีพื้นที่จัดเก็บที่เพียงพอ หรือไม่มีทีมช่วยดูแลสินค้า ทั้งการจัดเก็บ การแพ็ค รวมไปถึงการจัดส่ง  Boxme ขอแนะนำตัวช่วยในธุรกิจ E-commerce ในการจัดการสินค้าคงคลัง โดยคลังสินค้า Boxme Thailand ให้บริการในด้าน จัดเก็บสินค้า พร้อมแพ็คจัดส่ง ให้ธุรกิจออนไลน์ของคุณง่ายในการจัดการมากขึ้น หมดปัญหาพื้นที่สต๊อกไม่เพียงพอ แพ็คผิด แพ็คไม่ทัน จัดการออเดอร์ผิดพลาด เอาเวลาไปดูแลการขาย จัดโปรโมชั่น เพิ่มโอกาสเพิ่มกำไรให้พุ่ง ๆ ไปอีก !… 

สนใจใช้บริการคลังสินค้า เก็บสต๊อก พร้อมแพ็คและจัดส่ง

ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง เพื่อขอรับรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 02-026-3165 หรือ > ขอรับใบเสนอราคา < กดที่นี่

> อ่านเพิ่มเติม: 18 คำศัพท์ที่ควรรู้ในระบบจัดการออเดอร์

> อ่านเพิ่มเติม: E-Commerce Platform กับ Marketplace Platform ต่างกันอย่างไร?

> อ่านเพิ่มเติม: ขายสินค้าบน Marketplace ใช้บริการ Fulfillment ได้หรือไม่?

> อ่านเพิ่มเติม: ก่อนใช้บริการ Boxme คลังสินค้าครบวงจรต้องมีอะไรบ้าง!?

Don't forget to share this post!

Share on:

Facebook
LinkedIn
Twitter
Telegram

Share on:

Expand your Business to Southeast Asia​