Logistics กับความท้าทายใหม่ในการใช้โดรนขนส่ง

Share on:

โดรนขนส่ง

โดรนคืออะไร

เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle: UAV) หรือที่รู้จักกันในชื่อที่คุ้นหูว่า โดรน ถือเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ไม่เพียงอำนวยความสะดวก แต่ยังเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้า และที่สำคัญยังเป็นเทคโนโลยีที่สามารถนำไปช่วยชีวิตของผู้คนทั่วโลกได้ ด้วยข้อได้เปรียบในการเข้าถึงถิ่นทุรกันดารและพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยาก โดรนจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถพลิกโฉมการขนส่งสินค้าได้ ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา โดรนกลายเป็นประเด็นที่ได้รับการพูดถึงเป็นอย่างมาก และแน่นอนว่าหลายบริษัทก็ไม่รอช้าที่จะพัฒนาเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรนขนส่งของตนให้ก้าวหน้าและสามารถใช้งานได้จริง

โดรนถูกใช้งานครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1918 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อสนับสนุนการทำสงครามของกองทัพสหรัฐอเมริกาและกลุ่มพันธมิตร มาในวันนี้โดรนไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะการใช้งานทางทหารเท่านั้น จากการพัฒนาระบบให้สามารถใช้งานได้ง่ายมากขึ้น ที่มาพร้อมลูกเล่นหลากหลายรูปแบบ รวมถึงศักยภาพในการบินที่สูงมากขึ้น ทำให้โดรนได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องและส่งผลต่อการพัฒนาเพื่อรองรับธุรกิจแขนงต่างๆ

บทบาทของโดรนขนส่งสินค้า

JD.com บริษัทค้าปลีกออนไลน์ชั้นนำในจีนได้จับมือกับรัฐบาล ใช้โดรนขนส่งอัตโนมัตินำยารักษาโรคไปส่งถึงหมู่บ้านในมณฑลเสฉวน ซึ่งตั้งอยู่บนหน้าผาสูงชันเหนือระดับน้ำทะเล 1,400 เมตร แน่นอนว่าหากเป็น 5 ปีที่แล้ว การขนส่งพัสดุย่อยหรือสินค้าไม่กี่ชิ้น (Parcel Delivery) ไปตามหมู่บ้านแถบชนบทที่ห่างไกลจากตัวเมืองนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย โดยเฉพาะในประเทศที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ นอกจากนี้สำนักข่าว South Morning China รายงานว่าในอดีตชาวบ้านต้องเดินลงบันไดมาซื้อยา ซึ่งนอกจากจะยุ่งยากแล้ว ยังใช้เวลาไปกลับนานถึง 6-9 ชั่วโมง ผิดกับการใช้โดรนซึ่งใช้เวลาแค่ 10 นาทีเท่านั้น

ความก้าวหน้าของนวัตกรรม โดรนขนส่งสินค้า

เช่นเดียวกับ บริษัทขนส่ง UPS ได้พัฒนาโดรนขนส่งดังกล่าวในการขนส่ง เพื่อลดเวลาในการจัดส่งสินค้า และช่วยให้บริษัทฯ ขนส่งสินค้าได้ในระยะไกลมากขึ้น ทั้งยังช่วยลดระยะเวลาในการเดินทาง โดยคาดว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งได้ถึง 50 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี จากการลดระยะทางที่คนขับรถต้องเดินทางในแต่ละวัน

UPS ทดสอบการใช้โดรนทำการบิน เพื่อพัฒนาการขนส่งสินค้าในถิ่นทุรกันดาร เนื่องจากรถบรรทุกจำเป็นต้องเดินทางไกลเพื่อทำการขนส่ง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงและใช้เวลาค่อนข้างมาก การใช้โดรนจะช่วยให้คนขับรถสามารถจัดส่งสินค้าได้ครั้งละหลายชิ้นและถึงมือผู้รับอย่างปลอดภัย โดยไม่จำเป็นต้องเข้าถึงพื้นที่นั้นจริง ๆ (อ่านเพิ่มเติม > ขายของออนไลน์ห้ามมองข้ามความปลอดภัยระหว่างขนส่ง!)

การทำงานของโดรนขนส่งในอนาคต

การใช้โดรนขนส่งได้ถูกกำหนดโปรแกรมไว้แล้วว่าให้ไปส่งที่ใคร คนที่มีสมาร์ทโฟนที่สามารถส่งสัญญาณให้กับโดรนได้เท่านั้นจึงจะเรียกโดรนให้ลงจอดเพื่อรับของได้ หากโดรนไม่ได้รับสัญญาณภายใน 3 นาที ก็จะทำการบินกลับไปยังต้นทาง เทคโนโลยีการส่งสัญญาณผ่านสมาร์ทโฟนนี้เป็นนวัตกรรมที่มีกำเนิดจากการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนเพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้เป็นกุญแจเปิด parcel locker หรือตู้ไปรษณีย์รับของนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม หากโครงการส่งจดหมายและพัสดุด้วยโดรนมีการใช้งานจริงก็จะต้องกำหนดกรอบระเบียบข้อบังคับ โดยจะต้องพิจารณาร่วมกับกับหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐด้วย ยกตัวอย่าง ทีม Pixel Labs ได้มีส่วนร่วมในการวางแนวทางเกี่ยวกับการตรวจสอบ airworthiness หรือความสมบูรณ์พร้อมในการที่เครื่องจะลอยอยู่บนอากาศได้อย่างปลอดภัย ขณะเดียวกัน SingPost เองก็จะหามาตรการกำหนดว่าการบินของโดรนนั้นมีความปลอดภัยในระดับน่าพอใจ (อ่านเพิ่มเติม > อัพเดต! เปิดศึก 13 ขนส่งพัสดุ Kerry (เคอรี่), ไปรษณีย์ไทย ฯ ต่างกันอย่างไร)

โดรนในอุตสาหกรรมอื่น ๆ

โดรนถือเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีทางเลือกเพื่อการเกษตรในยุค 4.0 การเกษตรกรรมถือเป็นอุตสาหกรรมหลักที่อยู่คู่ประเทศไทยมาอย่างยาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รูปแบบการทำการเกษตรถูกพัฒนาไปมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จากการเกษตรแบบดั้งเดิมที่ใช้แรงงานคน สู่การนำเทคโนโลยีเครื่องจักรกลมาใช้ทุ่นแรง ล่าสุดมีการนำโดรนมาใช้เป็นเทคโนโลยีทางเลือก เข้ามาทำงานในทุกกระบวนการผลิต ตามแบบฉบับเกษตรวิถีใหม่ จากเดิมที่ต้องใช้คนจำนวนมากในการทำการเกษตร ซึ่งใช้เกินเวลาหลายชั่วโมง ต่อพื้นที่ 10 ไร่ แต่เมื่อมีการนำโดรนเข้ามาใช้ สามารถช่วยลดจำนวนแรงงานเหลือเพียง 1-2 คนเพื่อใช้ในการควบคุมดูแล และลดระเวลาในการทำงานเหลือเพียง 10 นาที เท่านั้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: www.pttdigitalconnect.com, www.airfreight-logistics.com, procurement.tcdc.or.th

สนใจใช้บริการจองขนส่งออนไลน์ เข้ารับถึงบ้าน ฟรี

ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง เพื่อขอรับรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 02-026-3165 หรือ > เปรียบเทียบราคาขนส่ง < กดที่นี่

Don't forget to share this post!

Share on:

Facebook
LinkedIn
Twitter
Telegram

Share on:

Expand your Business to Southeast Asia​