7 ข้อควรรู้ เตรียมไว้ก่อนเริ่มขายของออนไลน์

Share on:

7 ข้อควรรู้ เตรียมไว้ก่อนเริ่มขายของออนไลน์

เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป และโรคระบาดที่ไม่อาจทำให้การดำเนินชีวิตเหมือนเดิม หลายธุรกิจหันมาโฟกัสที่การขายของออนไลน์มากขึ้น  ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินธุรกิจให้เติบโตเป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ลดต้นทุนและกระบวนการดำเนินงานให้น้อยลง สามารถขายสินค้าได้อย่างทั่วถึง ทุกที่ ทุกเวลา

1. เลือกสินค้าที่จะขาย

การเลือกสินค้าที่จะขาย ควรเริ่มต้นจากความชอบของคนขาย ว่าผู้ขายอินกับอะไร สินค้านั้นดีจริงหรือไม่ และสำรวจดูความต้องการของลูกค้าในตลาดด้วย รวมถึงมองหาแหล่งสินค้าหรือแหล่งผลิตที่จะนำสินค้ามาขาย โดยคำนึงถึงหลายปัจจัย เช่น ราคาเหมาะสม คุณภาพสินค้า ลงพื้นที่เลือกสินค้าด้วยตัวเอง หรือถ้าหากซื้อทางออนไลน์ก็แนะนำให้สั่งมาเทสตัวสินค้า เช็คความเรียบร้อยก่อน แล้วจึงสั่งเป็นล็อตใหญ่เพื่อนำมาขายอีกที (อ่านเพิ่มเติม > 5 ประเภทสินค้าแพ็คบ่อย ขายดี ที่คลัง Boxme Thailand)

2. กำหนดงบลงทุน

“งบลงทุน” เป็นสิ่งแรกที่ต้องวางแผน เพื่อป้องกันการใช้งบบานปลาย ซึ่งงบลงทุนควรจะขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ลงทุน ว่ารับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน และคุมงบประมาณไม่ให้ขาดทุน หรือไม่สูญเปล่าไปกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซึ่งทุนที่ค่อนข้างมีผลต่อกำไรของผู้ขายนั่นคือค่าขนส่งที่ไม่แน่นอน หากสามารถเลือกใช้บริการขนส่งที่มีคุณภาพคุ้มกับราคา ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ผู้ขายสามารถสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าที่ได้รับสินค้าเช่นกัน (อ่านเพิ่มเติม > ส่องสูตรลัดค่าส่งถูกลง ฉบับ Dimension Weight)

3. เลือกช่องทางการขายให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย

ช่องทางการขายของออนไลน์มีให้ผู้ขายเลือกใช้ได้อย่างหลากหลาย สามารถขายผ่านแพลตฟอร์มยอดนิยมอย่าง  Shopee, Lazada ก็สะดวกง่ายดาย หรือจะขายผ่าน Social เช่น Facebook, IG, Line My Shop  ที่กำลังเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น ดังนั้นจะต้องศึกษาลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย และการเข้าถึงของลูกค้า เพื่อที่จะได้เลือกช่องทางการขายได้ตรงกับการใช้งานกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด อีกทั้งยังสามารถเลือกขายได้หลายช่องทางเพื่อเพิ่มโอกาสเจอลูกค้าเป้าหมายเพิ่มขึ้นอีกช่องทางหนึ่งด้วย (อ่านเพิ่มเติม > เคล็ดลับขายของออนไลน์ให้สุดปัง! ทั้ง 6 แพลตฟอร์ม Social Media)

4. ตอบลูกค้ายิ่งเร็วยิ่งดี

ส่งออกไปเวียดนาม

การขายออนไลน์จะมีการซื้อ-ขายกันตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ขายจำเป็นจะต้องบริหารเวลาในการตอบลูกค้าให้ดี เพื่อไม่ให้การขายทำลายสมดุลชีวิตจนร่างกายพัง ผู้ค้าออนไลน์ยังสามารถใช้เทคโนโลยี “แชทบอท” (Chatbot) ซึ่งเป็นโปรแกรมสื่อสารข้อความอัตโนมัติใน แจ้งข้อมูลเบื้องต้น เช่น ราคาและรายละเอียดสินค้า ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะให้ข้อมูลเบื้องต้นแก่ลูกค้าโดยไม่ต้องมาคอยเฝ้าแชทแล้ว ยังช่วยให้ลูกค้ารู้สึกได้รับการตอบสนอง ไม่ถูกทิ้งขว้างจนกลายเป็นหันไปหาร้านอื่นแทน (อ่านเพิ่มเติม > Boxme X V Rich ดูดไลฟ์สด ช่วยร้านขายออนไลน์แพ็คได้อัตโนมัติ!!)

5. ช่องทางการชำระเงินสะดวกที่สุด

ร้านที่มีช่องทางการชำระเงินที่สะดวก และมีหลายช่องทาง จะเพิ่มความสะดวกแก่ลูกค้าเวลาชำระเงิน ไม่ว่าจะเป็นการเก็บเงินปลายทาง, การโอนจ่ายเงินผ่าน e-Banking, การจ่ายผ่านบัตรเครดิต/เดบิต, จ่ายผ่านบัญชีออนไลน์อื่น ๆ (PayPal, Rabbit LINE pay ) อีกทั้งร้านค้าต้องมีบริการหลังการขายที่ดี รับผิดชอบหากเกิดความผิดพลาด เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า และสร้างความประทับใจ มีผลต่อการซื้อซ้ำในอนาคตได้ไม่มากก็น้อย

6. ขายของออนไลน์ต้องจ่ายภาษี

อาชีพขายของออนไลน์ ก็จำเป็นต้องยื่นภาษีเช่นกัน ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ค้าที่มีรายได้ทางเดียวจากการขายของออนไลน์ หรือจะเป็นมนุษย์เงินเดือนที่ขายของออนไลน์ควบคู่ไปด้วย ต่างก็ต้องยื่นภาษี 2 แบบ คือ ภ.ง.ด. 94 และ ภ.ง.ด. 90 โดยจะต้องยื่นภาษีตามที่กรมสรรพากรกำหนด 

7. ราคาสมเหตุสมผล จัดส่งรวดเร็ว

การจัดส่งสินค้าก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องศึกษาให้ดี ต้องเลือกระบบขนส่งสินค้าที่ส่งของได้เร็ว สะดวก มีบริการที่คุ้มค่า เพื่อให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ได้กำไรมากขึ้น  Shipjung ระบบจองขนส่งออนไลน์ สามารถเลือกใช้งานบริษัทขนส่งได้หลากหลาย ทั้งไปรษณีย์ไทย, Flash Express, Kerry, DHL, J&T และอื่น ๆ อีกมากมาย รวมถึงสามารถเลือกเก็บเงินปลายทางได้ทุกขนส่งในระบบเดียว 

Shipjung มีความยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการเติบโตของธุรกิจทุกขนาด นอกจากธุรกิจแบบ E-commerce หรือ SME แล้ว ปัจจุบัน Shipjung สามารถรองรับธุรกิจในรูปแบบบริษัทด้วย โดยสามารถออกเอกสารทางการเงินและเอกสารต่าง ๆ ที่สนับสนุนการทำงานของบริษัท ให้ได้รับบริการ Logistics ที่ตอบโจทย์กว่าที่ผ่านมา

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: postfamily.thailandpost.com

สนใจใช้บริการจองขนส่งหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง เพื่อขอรับรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 02-026-3165 หรือ > เปรียบเทียบราคาขนส่ง < กดที่นี่

Don't forget to share this post!

Share on:

Facebook
LinkedIn
Twitter
Telegram

Share on:

Expand your Business to Southeast Asia​